ขี้เต็มท้อง’ ผลร้ายคนชอบอั้น ปล่อยไว้นาน เหมือนอาการท้องผูกจริงหรือป่าว
“ขี้เต็มท้อง” หรือ “ภาวะอุจจาระอุดตัน” เป็นภาวะอุจจาระอุดตัน คือ ภาวะที่อุจจาระแห้งและอุดตันบริเวณลำไส้ตรง จนไม่สามารถผ่านออกมาได้จนเกิดจากการที่มีปัญหาท้องผูกรุนแรง หรือ ท้องผูกเป็นเวลานาน
จริง ๆ แล้วภาวะดังกล่าว สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัยที่มีปัญหาในเรื่องของการขับถ่าย โดยปัจจัยเสี่ยง “ภาวะอุจจาระอุดตัน” มีดังนี้
1. ดื่มน้ำไม่เพียงพอ มีส่วนทำให้ก้อนอุจจาระแข็ง และแห้ง
2. รับประทานอาหาร ที่มีกากใยอาหารน้อยเกินไป เช่น ผู้ที่ไม่รับประทานผักผลไม้ หรือผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป
3. ไม่ค่อยเริ่มออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย ซึ่งจะส่งผลต่อการทำงานของระบบขับถ่าย
4. เมื่อกลั้นอุจจาระ บ่อย ๆ ไม่ขับถ่ายเป็นเวลา
5. มีอาการท้องผูก บ่อย ๆ
6. มีอาการบาดเจ็บที่ไขสันหลัง ทำให้ไม่สามารถขยับร่างกายได้มากเท่าคนปกติ
7. มีความผิดปกติของลำไส้ใหญ่ และไส้ตรง
8. ต้องรับประทานยาที่ลด การเคลื่อนไหวของลำไส้ เป็นระยะเวลานาน เช่น ยาแก้ปวดกลุ่ม NARCOTICS, ยาลดกรด, ยากลุ่มธาตุเหล็กหรืออยากลุ่ม CALCIUM CHANNEL BLOCKERS ซึ่งใช้รักษาโรค ความดันโลหิตสูง
9. เมื่อมีอาการเข้าข่าย โรคประจำตัว อื่น ๆ เช่น ไทรอยด์ หรือ โรคซึมเศร้า ที่อาจส่งผลจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตการทานอาหาร เป็นต้น
อาการ “ภาวะอุจจาระอุดตัน” หรือ ขี้เต็มท้อง มีดังนี้
- ปวดท้องแบบบีบๆ
- ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
- คลื่นไส้ อาเจียน
- เบ่งอุจจาระอย่างแรงเกือบทุกครั้งที่ถ่าย
- อุจจาระเป็นก้อนเล็ก และแข็ง อาจจะบาดจนรู้สึกเจ็บทวารหนัก
- มีความรู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด อุจจาระไม่หมดท้อง
- มีเลือดออกจากปากทวารหนัก หลังอุจจาระ
- บางครั้งอาจรู้สึกว่ามีอุจจาระ หรือปัสสาวะเล็ด
- รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างมากดในส่วนของกระเพาะปัสสาวะ
- ปวดหลังส่วนล่าง
การรักษา
การรักษานั้นขึ้นอยู่กับอาการและการวินิจฉัยของแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งมีการรักษาหลากหลายวิธี เช่น การสวนทวารหนัก เหน็บยา หรือ ให้ยาต่าง ๆ หากมีอาการหนักอาจจะมีการผ่าตัดเพื่อนำอุจจาระออกมาจากลำไส้ ซึ่งการผ่าตัดยังพบได้น้อยมาก
วิธีป้องกัน “ภาวะอุจจาระอุดตัน” หลัก ๆ เลยต้องปรับพฤติกรรม ดังนี้
ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน เพื่อช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่มลง
รับประทานผักผลไม้และอาหารที่มีกากใย และลดการรับประทานอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมัน
อย่ากลั้นอุจจาระ ให้รีบหาที่ขับถ่ายทันทีเมื่อปวด
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
กลายเป็นที่ฮือฮา เมื่อทาง “ตุ๊กตา จมาพร” นักร้องสาวเสียงดีจากเวที The Voice ได้ออกมาแชร์วิทยาทานเกี่ยวกับโรคประหลาดที่เป็นมาหลายเดือน
โดยตุ๊กตาเล่าว่า เธอชอบอั้นอุจจาระ เพราะติดงานบ้าง อยู่ในรถบ้าง บางครั้งก็นั่งถ่ายผิดท่า จนเริ่มมีอาการคลื่นไส้ แน่นท้องและอยากอ้วกตลอดเวลา จึงตัดสินใจไปพบแพทย์ และได้รู้ว่าอาการเกิดจากการมีอุจจาระอยู่เต็มท้อง ทำให้เกิดลมจำนวนมากและคลื่นไส้อาเจียน พร้อมเผยถึงสาเหตุและอาการดังนี้
สาเหตุ เกิดจากการชอบอั้นอุจจาระและมีการขับถ่ายที่ไม่ถูกสุขลักษณะ วิธีสังเกต เช่น เบ่งออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ หรือ หายใจออกแล้วหน้าท้องแฟ่บ แบบนี้ถือเป็นการนั่งถ่ายที่ผิด
อาการ เวียนหัวคลื่นไส้ตลอดเวลา, หายใจติดขัด เหมือนแน่นท้อง, ลมในท้องเยอะ แน่นท้อง อาการคล้าย ๆ โรคกระเพาะ, ทานข้าวได้น้อย, ปวดเมื่อยตัว อ่อนเพลีย นอนไม่ค่อยหลับ และเรอเปรี้ยว ตดเปรี้ยวตลอดทั้งวัน
การรักษา หากใครมีอาการตามข้างต้น ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียในระยะยาว ซึ่งแพทย์จะให้ยาระบายมา เป็นยาระบายที่ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติลำไส้ เพื่อให้ร่างกายขับอุจจาระออกมาให้ได้มากที่สุด ไม่แนะนำให้ซื้อยาถ่ายทานเองเด็ดขาด เพราะยาระบายอาจทำให้มีอาการหนักกว่าเดิม สามารถเสริมสร้างฐานะมั่นคงทางการเงินได้ที่ ufabet
การฝึกพฤติกรรมการขับถ่ายและการนั่งถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ
1. ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชิน เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุดคือ 05.00 น. ถึง 07.00 น. แต่หากไม่สะดวกช่วงเวลานี้ ต้องพยายามหาช่วงที่เหมาะสม ที่สามารถขับถ่ายได้เป็นเวลา
2.ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำอุณหภูมิปกติ 1 แก้ว หลังตื่นนอนตอนเช้า เพราะน้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดีขึ้น ช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก
3.อย่ากลั้นอุจจาระ เพราะบางคนกว่าร่างกายจะส่งสัญญาณกระตุ้นให้ขับถ่ายอีกครั้ง อาจผิดเวลาไปแล้ว และอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ เกิดอุจจาระคั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้
ขณะที่กำลังขับถ่าย ถ้ายังไม่ปวดอย่าพึ่งเบ่งอุจจาระ เพราะร่างกายจะมีสมดุลการหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อลำไส้ ควรรอจังหวะปวดแล้วค่อยเบ่ง การเบ่งอุจจาระแรง ๆ ขณะที่ไม่ปวด เหมือนกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ เกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อย ๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองเกิดริดสีดวงทวารได้
4.นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี ท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุด คือ “นั่งยอง ๆ” เพราะจะมีแรงกดดันภายในจากหน้าขาช่วย ให้ขับถ่าย ได้คล่องที่สุด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันห้องน้ำ ส่วนใหญ่เป็นชักโครก ดังนั้นท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้นคือ “โค้งตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย” เพื่อให้ออกแรงเบ่งอุจจาระได้ดีขึ้น
อาการท้องผูก การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก อุจจาระจะแห้งแข็ง มีจำนวนน้อย (คนเราควรจะถ่ายอุจจาระไม่ต่ำกว่า 100 กรัม ถ้าจะให้ดีประมาณ 200-300 กรัม นานๆ จึงจะถ่ายสักครั้ง คือถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางคนถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง บางคนถ่าย 2-3 วันครั้ง โดยทั่วไปเราถือว่าถ้าถ่ายสัปดาห์หนึ่งน้อยกว่า 3 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ คนที่นานๆจะถ่ายครั้งหนึ่งแสดงว่าอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานๆ มักจะแข็ง แห้ง และมีกลิ่นเหม็นเน่า ถึงแม้ว่าท้องผูกจะไม่ใช่โรคแต่การที่ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจจนกระทั้งท้องผูกเรื้อรังไปนานๆ ก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคต่างๆได้ มีคนเคยพูดว่าประเทศที่เจริญทางด้านวัตถุมักจะคนท้องผูกมากขึ้นตามลำดับ และความเจริญของประเทศนอกจากวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศแล้ว ยังสามารถวัดได้จากปริมาณยาระบายที่จำหน่าย เนื่องจากประเทศเหล่านี้อาหารจะโดนดัดแปลง ปรุงแต่ง จนขาดเส้นใยอาหาร เป็นต้น
สาเหตุสำคัญ
1.รับประทานอาหารที่มีกาก + เส้นใยน้อย
โดยปกติคนเราควรรับประทานอาหารที่กากหรือเส้นใยประมาณ 20-25 กรัม/วัน แต่เนื่องจากอาหารในปัจจุบันมักได้รับการปรุงแต่งจนกระทั้งมีเส้นใยน้อยมาก คนส่วนใหญ่รับประทานข้าวขัดขาว ไม่รับประทานข้าวกล้อง
2. ความเครียด
เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีการแก่งแย้งมากขึ้น จากสภาวะแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนไปความเครียดมีมากขึ้น ทำให้ระบบการกินอยู่ หลับนอนและระบบการขับถ่ายแปรปรวนไปด้วย
3. การกลั้นอุจจาระเป็นอาจิณ
คนเราถ้าจะทำให้สุขภาพดี ควรรับประทานอาหารเป็นเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถ่ายตอนเช้า หลังจากร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนมาระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากชีวิตที่เร่งรีบออกจากบ้านไปทำงาน ก็มักจะกลั้นอุจจาระเอาไว้ เมื่อทำบ่อยเข้า ความรู้สึกอยากถ่ายก็จะหายไป ท้องผูกก็จะเข้ามาแทนที่ กลไกของการขับถ่ายก็จะเพี้ยนไป
4. ไม่ค่อยออกกำลังกาย
ในชีวิตประจำวันของคนสมัยใหม่ มักจะใช้เครื่องผ่อนแรงมากเกินไป ไปไหนมาไหนนั่งรถยนต์ขึ้นลิฟท์หรือบันไดเลื่อน แม้กระทั้งขับรถก็ยังใช้เกียร์อัตโนมัติ แล้วไม่ค่อยออกกำลังกาย วันหนึ่งนั่งหน้าจอ Computer เพราะฉะนั้นระบบเผาผลาญอาหารจึงน้อยลง
ร่างกายต้องการพลังงานน้อยลงไป ระบบย่อยและขับถ่ายก็พลอยเฉื่อยเนือยไปด้วย ลำใส้ของเรามีการเคลื่อนไหวตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ใครเดินมากไม่อยู่นิ่งลำใส้ก็จะเคลื่อนตามทำให้ท้องไม่ผูก ตรงข้ามกับคนแก่ที่นั่งๆนอนๆ ไม่ค่อยจะได้เคลื่อนไหว ลำใส้ก็จะนิ่งไม่ขยับ ส่งผลให้ท้องผูก
5. รับประทานยาระบายเป็นประจำ
ยาระบายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
- ชนิดที่ก่อความระคายเคืองกับลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับมูกออกมาหล่อลื่นผนังทวารหนัก ทำให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านไป
- ชนิดที่ก่อให้เกิดการบีบรัดตัวลำใส้ใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนก้อนอุจจาระ
ในระยะแรกของการรับประทานยาระบาย อาจจะได้ผล แต่นานๆไปลำไส้โดนกระตุ้นเป็นประจำ ทำให้เกิดการชาชิน ดื้อยา ต้องใช้จำนวนมากขึ้นและอาจจะไม่ได้ผล
6. สาเหตุอื่น ๆ เช่น
ชา, กาแฟ ทำให้ท้องผูกได้ สาร TANNIN เป็นสำคัญ
ยาเคลือบกระเพาะ สารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์
รับประทานแคลเซียมมากเกินไป
ยาแก้ไอ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของโคดินอยู่